หน้าแรก
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ /พันธกิจ
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ภารกิจหน้าที่ของอบต.
ประเพณีวัฒนธรรม
สถานที่สำคัญ
แผนที่ อบต.

โครงสร้างองค์กร
คณะผู้บริหารอบต.
สมาชิกสภาอบต.
พนักงานส่วนตำบล
สำนักปลัด อบต.
หน่วยตรวจภายใน
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ศาสนาฯ
กองสาธารณสุขฯ

กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
อาสาสมัคร อสม.
อาสาสมัคร อปพร.
กองทุนหมู่บ้าน(กทบ)

ข้อบัญญัติตำบลนางบวช
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนดำเนินการประจำปี
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
แผนปฎิบัติงานอื่นๆ
แผนปฎิบัติงานKM
รายงานการเงินประจำปี
รายงานการเงินประจำไตรมาส
รายงานการเงินประจำเดือน
รายงานการประเมินผลแผน
รายงานการจัดเก็บรายได้
รายงานการปฏิบัติงานอื่นๆ
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ระเบียบกฏหมายที่ควรรู้
แบบฟอร์มติดต่อราชการ
แบบฟอร์มคำร้องทั่วไป
แบบวัดความพึงพอใจ
สายตรงนายก
แสดงความคิดเห็นของประชาชน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ศูนย์ร้องเรียนการทุจริต
ช่องทางร้องเรียนในการ
   บริหารทรัพยากรบุคคล
   ของอบต.นางบวช

ผู้ดูแลระบบ
 
เฟสบุ๊คอบต.นางบวช
สถจ.สุพรรณบุรี
กรมจัดหางาน
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
กกต.สุพรรณบุรี
Visited :
เริ่มนับตั้งแต่
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565
หน้าหลัก ข่าว กิจกรรม สินค้า OTOP กระดานสนทนา ท่องเที่ยว ติดต่อ อบต.
 
 
 
     
 
 

สภาพทั่วไป
        องค์การบริหารส่วนตำบลนางบวชเป็นหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจัดตั้งตามพระราชบัญญัติ
สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 19 มกราคม
2539 และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย เพื่อบริการประชาชนและ
พัฒนาท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

จำนวนหมู่บ้าน
ตำบลนางบวชมีหมู่บ้านทั้งหมดจำนวน 10 หมู่บ้าน
มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 3 บ้านไร่
หมู่ที่ 6 บ้านท่านางเริง
หมู่ที่ 7 บ้านเกาะคู
หมู่ที่ 8 บ้านท่ามะนาว
หมู่ที่ 9 บ้านคันคลองกระเสียว
หมู่ที่ 10 บ้านไร่ดอนกลาง

อยู่ในเขตรับผิดชอบของ เทศบาลตำบลนางบวช จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านสำเภาล่ม
หมู่ที่ 2 บ้านกระพ้น
หมู่ที่ 3 บ้านนางบวช
หมู่ที่ 4 บ้านท่านางเริง

ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลนางบวชตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านไร่ดอนกลาง ซึ่งเป็นที่ทำการสร้างขึ้นใหม่
เมื่อปี พ.ศ.2542 อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมบางนางบวชประมาณ 5 กิโลเมตรสามารถเดินทางติดต่อ
ได้โดยใช้เส้นทางถนนสายสุพรรณบุรี - ชัยนาถ และห่างจากจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 44 กิโลเมตร
การติดต่อโดยใช้เส้นทางสายสุพรรณบุรี - ชัยนาถ

อาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับพื้นที่เทศบาลตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับพื้นที่ของเทศบาลตำบลเขาดิน
และองค์การบริหารส่วนตำบลยางนอน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกระเสียว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


ขนาดพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 43.26 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
27,287 ไร่

ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์
เหมาะแก่การทำนา ส่วนใหญ่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านหมู่ที่ 3,6,10 มีคลองท่ามะนาว
ไหลผ่าน หมู่ที่ 7,8 มีคลองกระเสียวไหลผ่านหมู่ที่ 9 และในเขตพื้นที่หมู่ที่ 7,8 มีเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกับพื้นที่ราบ มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกเส้นทางหลักคือถนนสายสุพรรณบุรี - สิงห์บุรี เริ่มจากอาณาบริเวณ
ตอนกลางของตำบลไปสิ้นสุดอาณาเขตของตำบลทางทิศตะวันออก มีถนนเลียบคันคลองชลประทานสาม
ชุกและทางเชื่อมผ่านหมู่ที่ 3,6,9,10 ทำให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีถนนลูกรังเชื่อม
ระหว่างหมู่บ้านในเขตตำบล และตำบลใกล้เคียงประชาชนสามารถไปมาหาสู่กันได้ การขนส่งพืชผลทางการเกษตรสะดวก รวดเร็ว

ประชากร
ตารางแสดงข้อมูลจำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช

หมู่ที่/บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

หมู่ที่ 3 บ้านไร่

148

249

245

494

หมู่ที่ 6 บ้านท่านางเริง

197

257

252

509

หมู่ที่ 7 บ้านเกาะคู

282

430

449

879

หมู่ที่ 8 บ้านท่ามะนาว

147

196

208

404

หมู่ที่ 9 บ้านคันคลองกระเสียว

87

107

108

215

หมู่ที่ 10 บ้านไร่ดอนกลาง

213

305

355

660

รวม

1,074

1,544

1,617

3,161


ที่มา : งานทะเบียนราษฎรอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี (ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2562) 
         จากข้อมูลและสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจนถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2562 ตำบลนางบวช
(เฉพาะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช) มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 3,161 คน แยกเป็น
ชาย 1,544 คน หญิง 1,617 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 73.06 คน/ตารางกิโลเมตร

อาชีพ
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางบวชส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยทำนาและทำไร่อ้อยเป็นอาชีพหลัก

ส่วนอาชีพรองลงมา คือ

การทำสวนผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อบริโภค ภายในครอบครัว
และนำบางส่วนมาจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช

ธนาคาร

-

 แห่ง
โรงแรม

-

 แห่ง
ปั๊มน้ำมัน

-

 แห่ง
โรงสีข้าว

-

 แห่ง
ร้านอ๊อค,เชื่อม,กลึง

1

 แห่ง
ร้านค้า

26

 แห่ง
ร้านตัดผมชาย

2

 แห่ง
อู่ซ่อมรถยนต์

2

 แห่ง
ร้านเสริมสวย

-

 แห่ง
อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์  

  1  

 แห่ง
อู่ซ่อมรถไถนา

1

 แห่ง
ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า

1

 แห่ง
ตลาดนัด

1

 แห่ง

การศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

 - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1

 แห่ง
 - โรงเรียนประถมศึกษา

1

 แห่ง
 - โรงเรียนมัธยมศึกษา

-

 แห่ง
 - โรงเรียนอาชีวศึกษา

-

 แห่ง
 - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน  

 4 

 แห่ง
 - ศูนย์เทคโนโลยีประจำตำบลนางบวช

1

 แห่ง


สถาบันและองค์กรทางศาสนา

 - วัด/สำนักสงฆ์    2  แห่ง
 - มัสยิด  -  แห่ง
 - ศาลเจ้า  -  แห่ง
 - โบสถ์คริสต์  -  แห่ง

สาธารณสุข

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   1   แห่ง

- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100


ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 - รถยนต์กู้ภัย   1 คัน

การ
คมนาคม
การคมนาคมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช แยกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หมู่ที่ 3,6 และ 10 เป็นหมู่บ้านที่ติดต่อกับเส้นทางหลัก การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอ และจังหวัดอยู่ในเกณฑ์ที่สะดวก
2. หมู่ที่ 7,8 และ 9  ถนนสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านส่วนมากมีสภาพเป็นถนนลูกรัง/หินคลุก และบางส่วนเป็นถนนลาดยาง การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดอยู่ในเกณฑ์ที่สะดวกอาจจะมีความลำบากในช่วงฤดูฝนเนื่องจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ และในหมู่ที่ 9 เมื่อถึงฤดูฝนเกิดฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังซ้ำซากเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มต่ำ การระบายน้ำไม่สะดวกสร้างความเสียหายแก่เส้นทางคมนาคม และการเกษตรกรรม

การไฟฟ้า
 - ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางบวชมีไฟฟ้าเข้าถึงทั่วทุกหมู่บ้าน
 - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 100%

การโทรคมนาคม
 - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
 - สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ   - แห่ง
 - โทรศัพท์สาธารณะ        7 แห่ง

แหล่งน้ำธรรมชาติ
 - แม่น้ำ (แม่น้ำท่าจีน) 1 สาย
 - ลำห้วย,ลำคลอง     2 สาย
 - คลองชลประทาน  - สาย

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
 - ฝาย,อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง
 - บ่อน้ำตื้น 2 แห่ง
 - บ่อโยก  7  แห่ง
 - ประปาหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน (ครบทุกหมู่บ้าน)
 - บ่อกักเก็บน้ำ  3 แห่ง
 - อื่น ๆ (สระน้ำ)2 แห่ง

ทรัพยากรในพื้นที่
 - แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3,6 และ 10
 - หนองตะล้าน หากมีการขุดลอกและปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่จะมีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามเหมาะสม
ที่จะเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน และขยายพันธุ์สัตว์น้ำ
 - คลองจระเข้ตาย มีการขุดลอกเพื่อกักเก็บน้ำจากแม่น้ำท่าจีนไว้ใช้ในการเกษตรกรรม

มวลชนจัดตั้ง
 - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
 - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
 - อาสาสมัครพัฒนาชุมชน (อช.)
 - ลูกเสือชาวบ้าน (ลสชบ.)
 - กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.)
 - อาสาสมัครตำรวจชุมชน
 - อาสาสมัครทีมกู้ภัย